วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

Mayuresuan: หลวงปู่เฒ่าแห่งบ้านโต้น (สมเด็จ อาจ อาสภมหาเถระ)

Mayuresuan: หลวงปู่เฒ่าแห่งบ้านโต้น (สมเด็จ อาจ อาสภมหาเถระ): รูปที่ 1 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ...

Mayuresuan: หลวงปู่บุญมา มุนิโก ผู้ทรงศีลแห่งบ้านหนองตูม

Mayuresuan: หลวงปู่บุญมา มุนิโก ผู้ทรงศีลแห่งบ้านหนองตูม:    หลวงปู่บุญมา  มุนิโก   สถานะเดิม เดิมชื่อ บุญมา  นามสกุล หินอำคา   เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที 14 กรกฎาคม พ.ศ.2453 วันขึ้น 8 ค่ำเดื...

Mayuresuan: หลวงปู่บุญมา มุนิโก ผู้ทรงศีลแห่งบ้านหนองตูม

Mayuresuan: หลวงปู่บุญมา มุนิโก ผู้ทรงศีลแห่งบ้านหนองตูม:    หลวงปู่บุญมา  มุนิโก   สถานะเดิม เดิมชื่อ บุญมา  นามสกุล หินอำคา   เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที 14 กรกฎาคม พ.ศ.2453 วันขึ้น 8 ค่ำเดื...

หลวงปู่บุญมา มุนิโก ผู้ทรงศีลแห่งบ้านหนองตูม

 
 หลวงปู่บุญมา  มุนิโก
 
สถานะเดิม เดิมชื่อ บุญมา  นามสกุล หินอำคา  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที 14 กรกฎาคม พ.ศ.2453วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 8 ที่บ้านหนองตูม ต.บ้านขามอ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น (ปัจจุบันคือ ต.หนองตูม อ.เมืองจ.ขอนแก่น) บิดาชื่อ นายด้วง  มารดาชื่อ นางจันทร์ หินอำคา

บรรพชา  บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 18 ปี ที่วัดบูรพา(วัดบ้านหนองตูม) ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2471 มีพระครูพุทธา เจ้าอาวาสวัดบูรพาเป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท  เข้ารับการอุปสมบทที่พัทธสีมา วัดเจติยภูมิ บ้านขาม เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2474 มีพระครูแก้ว เกสาโว วัดพิชัยพัฒนาราม ต.วังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูบุญมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุห์ค้ำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
สมรณศักดิ์    พ.ศ.2512  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นตรีที่ พระครูบุญสารสุมณฑ์
     พ.ศ.2524  ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม
มรณะภาพ   เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2547 เวลา 17:50 น. ด้วยโรคปอดบวม สิริอายุได้ 95 ปี  2 เดือน 12 วัน 74 พรรษา
      หลวงปู่บุญมาเป็นพระที่ได้รับฉายาว่า ผู้ไม่เคยหยุดนิ่งแห่งการปฏิบัติธรรม จึงมีลูกศิษย์แวะเวียนมากราบไหว้อย่างไม่หยุด นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระธรรมยุติ รุ่นเดียวกันกับหลวงปู่ธีร์ วัดมิ่งเมืิองวนาราม อ.ภูเวียง  ท่านยังมีลูกศิษย์มากมายทั้งที่เป็นฆารวาส เช่น นักการเมืองชื่อดัง อดีตนายกทักษิณ  ชินวัตร , พล.อ. เชาวลิต ยงใจยุทธ และ นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นต้น ส่วนที่เป็นพระด้วยกันเองก็มี หลวงพ่อคูณ  ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
      วัตถุมงคลของท่านก็มีมากมาย อาทิเช่น
    1. ตะกรุดค้าขาย นอกจากจะเด่นทางเมตตามหานิยมแล้ว ยังเด่นในเรื่องคงกระพันอีกด้วย
 
    
ตะกรุดค้าขาย

    2. พระผงปิดตา คลุกลัก-จุ่มลัก มหาลาภ 16 ทรัพย์
    3.  เหรียญต่างๆ เช่น เหรียญรุ่น 1 บล็อค 5 ชาย , เหรียญเกียรติรุ่งเรือง เป็นต้น
วัตถุมงคลบางส่วนที่บ้านของผู้เขียนสะสมไว้
 
  โดยประสบการณ์ของผู้เขียนนั้น ก็มีอยู่มากมายที่ประสบได้ด้วยตนเอง จะเล่าให้ฟังพอสังเขปดังนี้
ย้อนกลับไปเมื่อ 17 ปีที่แล้ว แม่ของผู้เขียนได้นิมนต์หลวงปู่มาฉันเพลที่บ้าน ตอนทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ท่านได้เมตตา สวดมนต์ ฝังหลักฝังคาน ผูกสายสิญจ์ อีกทั้งเสกน้ำมนต์ ประพรมน้ำมนต์ให้ผู้ที่มาร่วมทำบุญบ้าน  ในครั้งนั้น ท่านเมตตาแจกตะกรุดให้คนละดอกและล็อกเก็ต แก่ครอบครัวผู้เขียน หลังจากนั้นไม่นาน แม่ของข้าพเจ้าได้ประสบอุบัติเหตุรถชน ต้องถึงขั้นผ่าตัดขาด้านซ้าย เข้าห้องผ่าตัดแล้ว ปรากฎว่า มีดที่หมอใช้ผ่าตัดเพื่อต่อกระดูกให้แม่นั้น มันกรีดไม่เข้าเนื้อเลย ทำยังไงก็ไม่เข้า คุณหมอจึงสั่งให้พยาบาลค้นตัวแม่ทั้งหมด พบล็อตเก็ตของหลวงปู่ที่แม่ห้อยอยู่ที่คอ คุณหมอจึงให้พยาบาลถอดออก แล้วจึงทำการผ่าตัดได้ หลังจากการผ่าตัดผ่านไปได้ด้วยดีแล้ว คุณหมอจึงเรียกพ่อไปพบ แต่ไม่ได้คุยเรื่องอาการของแม่นะ คุยเรื่องพระที่แม่แขวนที่คอ แล้วก็ส่งพระคืนให้กับพ่อ จากวันนั้นคุณหมอท่านนี้ก็ได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับท่าน เรื่องก็มีประมาณนี้แหละท่านผู้อ่าน
                                                                                                                       By ตุ่นหนุนดวง
                                                                                                                              05-03-2014 

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลวงปู่เฒ่าแห่งบ้านโต้น (สมเด็จ อาจ อาสภมหาเถระ)







รูปที่ 1 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)  

      หากจะกล่าวไปแล้ว หลายๆท่าน อาจจะยัง ไม่เคยได้ยินชื่อหรือรู้จักกับพระเถระผู้ใหญ่ท่านนี้  ผิดกับข้าพเจ้าที่เกิดและเติบโต  อยู่ในหมู่บ้านละแวกใกล้ๆ กับ บ้านโต้น ตำบลบ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเกิดมาก็ได้ยินชื่อท่านเลย และไม่ว่าจะเป็นคนแก่ เด็กเล็ก คนหนุ่ม คนสาว ก็มักจะเรียกท่านว่า หลวงปู่เฒ่า  ท่านเป็นพระที่ใจดี สมะถะ และชอบสอนการนั่งกรรมฐานเป็นประจำ และท่านยังเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลที่สุดในบรรดาพระภิกษุไทยสมัย 25 พุทธศตวรรษ เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางเดินของพระธรรมทูตไทยในยุคปัจจุบัน นำร่องสร้างทั้งวัดไทยพุทธคยา-อินเดีย วัดพุทธปทีป-อังกฤษ และวัดไทยแอลเอ-สหรัฐอเมริกา
ชื่อ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)  [ เมื่อปีพ.ศ. 2528 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์]
สมณะศักดิ์ :  สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประวัติโดยย่อ :  สมเด็จอาจ อาสโภ   เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 แรม 4 ค่ำเดือน 12 ณ บ้านโต้น ต.บ้านโต้น อ.เมือง  สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า คำตา ดวงมาลา เป็นบุตรคนโตของนายพิมพ์ และนางแจ้ ดวงมาลา จังหวัดขอนแก่น  มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 4 คนท่านเป็นบุตรคนโต น้องอีกสามคนคือ นางบี้ นายเพิ่ม และนางเอื้อ ตามลำดับ 
         เมื่ออายุ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น โดยมีอาจารย์พระหน่อ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านย้ายมาอยู่กรุงเทพฯเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
จนอายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีสมโพธิ เป็นพระอนุสาวนาจารย์   ได้รับนามฉายาว่า อาสโภ นอกจากนั้น พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจ้าอาวาสขณะนั้น) ได้เปลี่ยนชื่อท่านจาก คำตา เป็น อาจ เพื่อให้เหมาะกับบุคลิก องอาจ แกล้วกล้า ท่านสอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยคเมื่อ พ.ศ. 2472
 


 รูปที่ 2 เมื่อครั้งอุปสมบทเป็นพระ

และในปี พ.ศ. 2503 ท่านยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมนั้น ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนทางเวจมรรค ( การเสพเมถุนทางทวารหนัก ) กับลูกศิษย์ จึงถูกถอดสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ทว่าต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ แม้กระนั้นต่อมาใน พ.ศ. 2505 ท่านได้ถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จึงถูกบังคับสึกเป็นฆราวาส และจำคุกอยู่ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลอยู่หลายปี (กล่าวกันว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากเรื่องการเมืองในวงการคณะสงฆ์ไทยในเวลานั้น) ขณะที่ท่านถูกจองจำในคุก ท่านยังคงปฏิบัติตน เช่นพระสงฆ์ดังเดิม โดยนุ่งห่มขาวเหมือนผู้ถือศีล มีผ้าคลุมสีกากี และ น้ำตาลไหม้ ฉันข้าวมื้อเดียว นั่งกรรมฐาน และเดินจงกรม จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว เมื่อศาลทหารสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านได้และตัดสินยกฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2509 คดีดังกล่าวนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของไทย ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้แก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง


 

รูปที่ 3   ขณะที่ท่านถูกจองจำในคุก  ปี พ.ศ. 2505-2509

เมื่อท่านได้รับการปล่อยตัวออกม ท่านได้กล่าววลีเด็ดไว้ว่า  จงชนะความร้ายด้วยความดีและ สร้างเหรียญรุ่นแรก ออกมา เป็น เนื้อทองเหลือง, ทองแดงรมดำ เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้สาธุชนรุ่นหลัง ว่า อย่าได้อาฆาตพยาบาทใคร ดังวลีที่ท่านกล่าวไว้ข้างต้น  ไม่ว่าท่านจะถูกใส่ร้ายป้ายสีจากคณะสงฆ์ ขนาดนั้น ท่านไม่เคยถือโทษโกรธเคืองแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยัง บำเพ็ญภาวนา และแผ่เมตตาแก่บุคคลเหล่านั้นอีกด้วย



รูปที่ 4   วันที่พ้นข้อกล่าวหา  2509

 
รูปที่ 5   เหรียญรุ่นแรก จงชนะความร้ายด้วยความดี  เนื้อทองแดงรมดำ

         สมเด็จอาจ ท่านมรณะภาพเมื่อ  8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ด้วยอาการอาพาธ และภาวะหัวใจวาย ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 86 ปี 1 เดือน 66 พรรษา

เกร็ดความรู้ :  สมเด็จอาจ ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่นำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ (หรือแบบยุบหนอ-พองหนอ) จากพม่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเปิดสอนครั้งแรกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในปี พ.ศ. 2496 จากนั้นจึงขยายไปเปิดสอนที่สาขาอื่นทั่วราชอาณาจักร มีการตั้งกองการวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุฯ ต่อมาถูกยกสถานะเป็นสถาบันวิปัสสนาธุระ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และได้เผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอจนแพร่หลายดังปัจจุบัน
ตุ่นหนุนดวง
06 กุมภาพันธ์ 2557
 
ขอขอบคุณที่มาทั้งหลาย: